Last updated: 8 ต.ค. 2564 | 3055 จำนวนผู้เข้าชม |
ศาลปกครองสูงสุด สั่งให้เพิกถอนข้อ 7 ของประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 12 กันยายน 2555 ทั้งนี้ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ศาลปกครองสูงสุด อ่านคำสั่งกรณีห้างหุ้นส่วนจํากัด ฐิติรัตน์ มีเดีย แอนด์ เน็ตเวิร์ค โดยนายธีร์ธวัช ธวัฒน์อุดม ผู้ชําระบัญชี ผู้ฟ้องคดี กับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฏโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์คําพิพากษา ในคดีหมายเลขดําที่ 274/2555 หมายเลขแดงที่ 46/2558 ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองอุดรธานี)
ขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ดังนี้
มาตรา 23 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 บัญญัติว่า ให้ กสช. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (2) กําหนดลักษณะและ ประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (3) พิจารณาอนุญาตและกํากับดูแล การใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (4) พิจารณาอนุญาตและ กํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (5) กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตตาม (3) และ (4) รวมทั้งการกํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (13) กําหนด หลักเกณฑ์และวิธีการในการคุ้มครองและการกําหนดสิทธิในการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ วรรคสอง บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ตามวรรคหนึ่ง ให้ กสช. มีอํานาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกําหนด วรรคสี่ บัญญัติว่า การดําเนินการตาม (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (12) และ (13) นอกจากที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้แล้ว ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ที่ใช้บังบังคับแทนพระราชบัญญัติเดิม บัญญัติว่า ให้ กสทช. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) จัดทําแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกําหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนความถี่วิทยุ และแผนเลขหมายโทรคมนาคม (2) กําหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม (3) กําหนดลักษณะและประเภท ของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (4) พิจารณาอนุญาตและ กํากับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือในกิจการวิทยุคมนาคมและกําหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว (5) กําหนด หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปราศจากการรบกวนซึ่งกัน และกัน ทั้งในกิจการประเภทเดียวกันและระหว่างกิจการแต่ละประเภท (6) พิจารณาอนุญาต และกํากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรมและ กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาต ดังกล่าว... (11) กําหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทําอันเป็นการผูกขาดหรือ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม (15) วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาการใช้คลื่นความถี่ที่มีการรบกวนซึ่งกัน และกัน (24) ออกระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งอันเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของ กสทช. (25) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น วรรคสาม บัญญัติว่า การใช้อํานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วย การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการ โทรคมนาคม และกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม มาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ต้องได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ วรรคสี่ บัญญัติว่า การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต้องคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมและต้องดําเนินการ ในลักษณะที่มีการกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงในกิจการด้านต่างๆ ให้เหมาะสมแก่ การเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ วรรคหก บัญญัติว่า ในกรณีที่เป็น การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการ ประกอบกิจการทางธุรกิจตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ให้ใช้วิธีคัดเลือกโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งในระดับชาติ ระดับ ภูมิภาคและระดับท้องถิ่น โดยให้แยกกันประมูลในแต่ละระดับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกําหนด วรรคเจ็ด บัญญัติว่า การกําหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ตามวรรคหก ให้คํานึงถึงประโยชน์ในการ จัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า การป้องกันการผูกขาด การส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ภาระของ ผู้บริโภคและการคุ้มครองสิทธิของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น วรรคแปด บัญญัติว่า การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ที่ก่อให้เกิดหรืออาจเกิดการรบกวนหรือทับซ้อนกับคลื่นความถี่ที่ได้ รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้วจะกระทํามิได้ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า ให้มีแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับตารางกําหนดคลื่นความถี่ทั้งหมดที่ประเทศไทยสามารถนํามาใช้ ประโยชน์ได้ (2) แนวทางการดําเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ระหว่างประเทศ (3) รายละเอียด เกี่ยวกับคลื่นความถี่ที่กําหนดให้ใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กิจการ โทรคมนาคม และกิจการอื่น (4) แนวทางในการคืนคลื่นความถี่เพื่อนําไปจัดสรรใหม่หรือ การปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ วรรคสอง บัญญัติว่า แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้และให้ใช้เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไข เบื้องต้นในการอนุญาตและการดําเนินกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่ มาตรา 85 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า ให้ กสทช. จัดให้มีแผนแม่บท การบริหารคลื่นความถี่ตามมาตรา 44 ภายในระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่เมื่อมีการแต่งตั้ง กสทช. แล้ว โดยแผนดังกล่าวต้องกําหนดให้มีการกําหนดเวลาในการเปลี่ยนไปสู่ระบบ การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลและกําหนดเวลาเกี่ยวกับการจัดให้ ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรทัศน์ด้วย มาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า ผู้ใดประกอบ กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตามความ ในหมวดนี้ มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า ใบอนุญาตประกอบกิจการ กระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยใช้คลื่นความถี่มีสามประเภทดังนี้ (1) ใบอนุญาต ประกอบกิจการบริการสาธารณะ ได้แก่ ใบอนุญาตที่ออกให้สําหรับการประกอบกิจการที่มี วัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริการสาธารณะ แบ่งเป็นสามประเภท (ก) ใบอนุญาตประกอบ กิจการบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ออกให้สําหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน (ข) ใบอนุญาตประกอบกิจการ บริการสาธารณะประเภทที่สอง ออกให้สําหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ (ค) ใบอนุญาต ประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภทที่สาม ออกให้สําหรับกิจการกระจายเสียงหรือ กิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจ อันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน การกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสาร อันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรม เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น (2) ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ได้แก่ ใบอนุญาตสําหรับการประกอบกิจการ ที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ แต่ต้องเป็นประโยชน์ ตามความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่นที่รับบริการ (3) ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ ได้แก่ ใบอนุญาตสําหรับการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ของผู้ประกอบกิจการ เพื่อแสวงหากําไรในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด อย่างน้อยแบ่งเป็นสามประเภท (ก) ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับชาติ ออกให้ สําหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทุกภาค ของประเทศ (ข) ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับภูมิภาค ออกให้สําหรับกิจการ กระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่การให้บริการในกลุ่มจังหวัด (ค) ใบอนุญาต ประกอบกิจการทางธุรกิจระดับท้องถิ่น ออกให้สําหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการ โทรทัศน์ที่มีพื้นที่การให้บริการในจังหวัด มาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ต้องเป็น (1) กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นใด ของรัฐที่มิใช่รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือมีความจําเป็นต้องดําเนินกิจการ กระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด (2) สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์ในการ ดําเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหากําไรในทางธุรกิจ ซึ่งมีความเหมาะสม กับการประกอบกิจการบริการสาธารณะตามลักษณะและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศ กําหนด (3) สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการเรียนการสอนหรือการเผยแพร่ความรู้ สู่สังคมตามลักษณะและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด มาตรา 12 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ต้องเป็นสมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ และมีวัตถุประสงค์ในการดําเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหากําไรในทาง ธุรกิจ หรือกลุ่มคนในท้องถิ่นที่ไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งรวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ชุมชน ทั้งนี้ ต้องมีความเหมาะสมกับการประกอบกิจการบริการชุมชนตามลักษณะที่ คณะกรรมการประกาศกําหนด มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า ผู้ขอ รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นต้องเป็นนิติบุคคลที่ผู้ถือหุ้นอันเป็นทุนหรือที่ผู้ลงทุนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตภูมิภาคหรือท้องถิ่นนั้น แล้วแต่กรณี และต้องมีฐานะทางการเงินมั่นคง มีระบบการตรวจสอบบัญชี และมีลักษณะอื่นใด ซึ่งประกันความมั่นคงในการประกอบกิจการ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด (2) ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทอื่น นอกจาก (1) ต้องเป็นรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ มาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว บัญญัติว่า การอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ โดยใช้คลื่นความถี่ ให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโดยคํานึงถึงภารกิจหรือ วัตถุประสงค์ของการประกอบกิจการ และเป็นไปตามสัดส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่ ที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ดังต่อไปนี้ (1) การออกใบอนุญาตประกอบกิจการ บริการสาธารณะ ให้คํานึงถึงหน้าที่ตามกฎหมาย หรือความจําเป็นเพื่อการบริการสาธารณะ โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรไว้สําหรับภาครัฐ (2) การออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ให้คํานึงถึงความต้องการที่หลากหลาย ความพร้อม และประโยชน์สาธารณะของชุมชนโดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรไว้สําหรับภาคประชาชน (3) การออกใบอนุญาตประกอบกิจการ ทางธุรกิจ ให้คํานึงถึงการส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และสนับสนุนให้มีการ ประกอบกิจการประเภทที่ให้บริการข่าวสารและสาระในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยใช้คลื่น ความถี่ที่จัดสรรไว้สําหรับภาคเอกชน มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า ในระหว่างที่การจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระเพื่อทําหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตาม พระราชบัญญัตินี้ เป็นการชั่วคราว โดยให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) ดําเนินการเพื่อให้ ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนและกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่รับใบอนุญาตประกอบ กิจการบริการชุมชนและกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อนตามที่ คณะกรรมการกําหนด โดยใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราวและกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ให้มีอายุไม่เกินหนึ่งปี
ศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้เพิกถอนข้อ 7 ของประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 12 กันยายน 2555 ทั้งนี้ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
อ้างอิง :
18 ส.ค. 2567