Last updated: 14 ก.พ. 2564 | 3383 จำนวนผู้เข้าชม |
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนไทย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่คนทำงานและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น รวมไปถึง ‘สื่อวิทยุ’ ซึ่งผลวิจัยชี้ว่า มีผู้ฟังเพิ่มขึ้น
นีลเส็น ได้เผยข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับฟังสื่อวิทยุของคนไทยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ด้วยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ฟังวิทยุจำนวน 1,650 คน อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปพบว่า
จำนวนผู้ฟังและเวลาในการรับฟังสื่อวิทยุที่เพิ่มมากขึ้นเกือบชั่วโมงเมื่อเทียบระหว่างเดือนมกราคมและเมษายน 2563 จากการฟังเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 16 นาทีต่ออาทิตย์ เพิ่มขึ้นมาเป็น 15 ชั่วโมง 2 นาทีต่ออาทิตย์ตามลำดับ นอกจากนี้ จำนวนของผู้ฟังโดยเฉลี่ยต่อสถานีในเดือนเมษายนนั้น มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึง 21% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
เพลงสากล–เพลงไทย คอนเทนต์ฮิต
สำหรับโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับผู้ฟังวิทยุ ได้แก่ ‘เพลงไทย’ (เช่น ป๊อบ ร็อค ฮิปฮอบ) และ ‘เพลงลูกทุ่ง’ ตามมาด้วย ‘โปรแกรมข่าว/ข่าวกีฬา’ และ ‘เพลงสากล’ และถึงแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะดันให้ยอดผู้ฟังในทุกประเภทของโปรแกรมที่กล่าวถึงข้างต้นเพิ่มขึ้น โดยโปรแกรมเพลงสากล และเพลงไทยได้รับอานิสงค์จากสถานการณ์นี้มากที่สุด มีการเติบโตของยอดผู้ฟังอยู่ที่ 28% และ 20% ตามลำดับ
เมื่อมองลึกลงไปที่โปรไฟล์ของผู้ฟังจะพบว่า
หากเจาะถึงกลุ่มอายุพบว่า เพลงลูกทุ่ง และข่าว/ข่าวกีฬา ได้รับความสนใจจากผู้ฟังที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเติบโตสูงสุดในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (+10%) , เพลงไทยและเพลงสากล สามารถเข้าถึงผู้ฟังในกลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ปีได้ดีกว่า เติบโตสูงสุดในกลุ่มอายุ 20-29 (+23%) , โปรแกรมข่าว/ข่าวกีฬา คือ กลุ่มอายุ 40-49 (+4%)
ที่น่าสนใจคือการทำงานจากที่บ้าน โดยเฉพาะในเดือนเมษายน ทำให้มีผู้ฟังวิทยุเพิ่มสูงขึ้นในช่วง non-prime time ทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด โดย
อย่างไรก็ตาม แม้ยอดผู้ฟังวิทยุจะเพิ่มขึ้น เม็ดเงินโฆษณาที่ลงกับสื่อวิทยุนั้นกลับเติบโตสวนทางเช่นเดียวกับหลาย ๆ สื่อในช่วงเดือนเมษายน โดยลดลง 21% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนปีที่แล้ว โดยสินค้าที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในสื่อวิทยุ 10 อันดับแรก ได้แก่ แบรนด์ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล กลุ่มอาหารเสริม กลุ่มยานยนต์ และหน่วยงานรัฐบาล
อารอน ริกบี้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย กล่าวว่า “เราเห็นว่ามีผู้ฟังรายการวิทยุผ่านมือถือ/สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเจ้าของสื่อที่สามารถพัฒนาแพลตฟอร์มและช่องทางการฟังผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ ให้ใช้งานได้ง่าย มีลูกเล่น และน่าสนใจ รวมถึงสามารถรักษาฐานผู้ฟังที่เพิ่มมากขึ้นจากช่วงสถานการณ์นี้ได้แม้ผ่านช่วงโควิดไปแล้ว คือผู้ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้อย่างแท้จริง”
ขอบคุณข้อมูลภาพข่าว https://www.marketingoops.com/