Last updated: 14 ก.ย. 2562 | 2686 จำนวนผู้เข้าชม |
โครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดําเนินงานของ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สืบเนื่องจากนโยบายรัฐบาลที่มุ่งบริหารราชการแผ่นดินตามหลักธรรมาภิบาล หรือหลักการบริหารกิจการบ้านมืองที่ดี (Good governance) เพื่อให้ส่วนราชการมีการบริหารราชการที่เปิดเผย โปร่งใส และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารราชการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา หรือร่วมคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย)จึงได้เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำหน้าที่วิเคราะห์ภารกิจหลักหรือยุทธศาสตร์ที่สำคัญของ อย. ที่เหมาะสมในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ และวิเคราะห์เพื่อพิจารณากำหนดกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วยกลุ่มผู้ประกอบการ องค์กรผู้บริโภค องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ภาควิชาการ/การศึกษาและ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยให้แต่ละกลุ่มเสนอผู้แทนเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานภาคประชาชน ทำหน้าที่ในการให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้าหรือตรวจสอบผลการดำเนินงาน และร่วมดำเนินงานกับ อย. เพื่อผลักดันให้อย. มีการพัฒนาระบบราชการโดยเฉพาะในเรื่องบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งคณะทำงานภาคประชาชนจะจัดทำแผนงาน/ครงการ/แผนปฏิบัติการตามประเด็นที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ดำเนินการและจัดทำรายงานสรุปผลความก้าวหน้าในการดำเนินการเสนอต่อผู้บริหารของอย.และสื่อสารให้ประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทราบ โดยเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะทำงานภาคประชาชน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งสิ้น ๒๕ คน และได้เห็นชอบในการจัดทำโครงการเฝ้าระวังและลดปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบมีส่วนร่วม
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะทำงานภาคประชาชน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งสิ้น๒๖คน และได้ดำเนินโครงการเฝ้าระวังและลดปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบมีส่วนร่วมต่อเนื่อง โดยให้ครือข่ายมีส่วนร่มในการแจ้งเบาะแสการทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง มีการจัดทำแบบทดสอบ และปรับปรุงแบบบันทึกการแจ้งข้อมูลการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางอินเตอร์เน็ต และทางจดหมายจัดทำคู่มือการตรวจสอบฝ้ระวังโฆณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและซีดี รวมทั้งจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการโฆณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและชี้แจงแนวทางการแจ้งข้อมูลหรือเบาะแสให้แก่เครือข่าย รวมทั้งได้ดำเนินการกับเรื่องร้องเรียนที่ได้รับแจ้งจากเครือข่ายเมื่อพบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้องตามกระบวนการที่กำหนด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ คณะทำงานภาคประชาชนประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งสิ้น ๒๕ คน และกำหนดประเด็นการดำเนินงานร่วมกัน คือ "การพัฒนาผู้บริโภคให้มีความรู้ และมีพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพ" โดยมีประเด็นเด่นคือ การให้ความรู้เรื่อง "อันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ"
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะทำงานภาคประชาชนประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งสิ้น๒๕คนและกำหนดการดำเนินงานร่วมกันคือ "การพัฒนาให้ผู้บริโภคมีความรู้และมีพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพ" ภายใต้โครงการ "การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ที่ถูกต้อง เลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย" โดยมีประเด็นในการรณรงค์เผยแพร่ร่วมกัน คือ การให้ความรู้เรื่อง "ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร"
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะทำงานภาคประชาชนประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งสิ้น๒๘คน และกำหนดการดำเนินงนรวมกันคือ "ส่งเสมความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัยและสมประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่ดี" ภายใต้โครงการ "การมีส่วนร่วมของภาคประชาชในการส่งเสริมให้เกิดการบริโภคที่ถูกต้อง" และมีโครงการเสริม คือ โครงการชุมชนต้นแบบเฝ้าระวังโฆษณา
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ คณะทำงานภาคประชาชนประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งสิ้น ๓๒ คน และกำหนดประเด็นการดำเนินงานร่วมกัน คือ "ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัยและสมประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่ดี"ภายใต้โครงการ "เสริมสร้างความรู้สู้ภัยน้ำมันทอดช้ำรู้ทันโฆษณาที่ไม่ถูกต้อง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕" โดยมีประเด็นในการรณรงค์เผยแพร่ร่วมกันคือการให้ความรู้เรื่อง"น้ำมันทอดซ้ำ"และ "การโฆษณาที่ไม่ถูกต้อง"
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ คณะทำงานภาคประชาชนประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งสิ้น ๓๒ คน กำหนดประเด็นการดำเนินงานร่วมกันคือ "ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัยและสมประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่ดี" ภายใต้โครงการ "เสริมสร้างความรู้สู้ภัยน้ำมันทอดช้ำรู้ทันโษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กล่าวอ้างเกินจริง" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ โดยมีประเด็นในการรณรงค์เผยแพร่ร่วมกัน คือ การให้ความรู้เรื่อง "น้ำมันทอดซ้ำ" และ "การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กล่าวอ้างเกินจริง"
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะทำงานภาคประชาชนประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งสิ้น ๓๖คนและกำหนดประเด็นการดำเนินงานร่วมกัน คือ "ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และบริโภคอย่างปลอดภัย สมประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่ดี" ภายใต้โครงการ "ฉลาดบริโภต้องอ่านฉลาก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗" โดยมีประเด็นในการรณรงค์เผยแพร่ร่วมกันคือการให้ความรู้เรื่อง "ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ" และ "การเลือกชื้อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย และสมประโยชน์"
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะทำงานภาคประชาชน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งสิ้น๓๖คน และกำหนดประเด็น "ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง"ภายใต้โครงการ "เสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างไม่ถูกต้อง" โดยมีประเด็นในการณรงค์เผยแพร่ร่วมกันคือการให้ความรู้เรื่อง "สเตียรอยด์" "การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง" และ "ฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ"
สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ คณะทำงานภาคประชาชน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจาก๓๔หน่วยงาพองค์กรดังนี้กลุ่มผู้ประกอบการ๗ หน่วยงาน กลุ่มองค์กรผู้บริโภค ๕ หน่วยงาน กลุ่มองค์กรวิชาชีพ ๖ หน่วยงาน กลุ่มสื่อมวลชน ๔ หน่วยงาน กลุ่มภาควิชาการ ๕ หน่วยงาน และกลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ๗ หน่วยงาน โดยมีเลขานุการคณะทำงานเป็นบุคคลากรของ อย. จำนวน ๕ คน รวมทั้งสิ้น ๓๙ คนโดยกำหนดปะเด็น "ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง" เป็นประเด็นการดำเนินงานโครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๙ ภายใต้กิจกรรม "เผยแพร่ความรู้สู้ภัยสุขภาพประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๙" โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คณะทำงานภาคประชาชนร่วมดำเนินกิจกรรมผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยสมประโยชน์(ลดหวานลดโรค)คารรู้เท่ทันสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และ สเตียรอยด์
ดังนั้น โครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงเป็นโครงการสำคัญเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการสร้างช่องทางการทำงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้านการส่งเสริมให้เกิดการบริโภคที่ถูกต้อง นำไปสู่การมีสุขภาพแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน ที่ ๖๖๓/๒๕๖๑ ดาวน์โหลดต้นฉบับ