Last updated: 12 ธ.ค. 2560 | 4802 จำนวนผู้เข้าชม |
คณะอนุฯ OTT กสทช. สรุปแนวทางกฎหมาย OTT ชี้แพลตฟอร์มเข้าหลักเกณฑ์กิจการบรอดคาสต์ไม่ใช้คลื่นความถี่ ยึดประกาศฯ เดิมปรับใช้กำกับดูแล OTT สิงหาคมนี้
ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้พิจารณาในการประชุม นัดพิเศษ ครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560 กำหนดให้ การให้บริการกระจายเสียงหรือบริการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอื่นที่ไม่ใช่โครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Over The Top) เป็นกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ในการนี้ เมื่อกำหนดให้บริการ OTT เป็นการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ จึงต้องพิจารณาต่อไปว่า บริการ OTT มีลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์อย่างไร
ตามประกาศ กสทช. เรื่องกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้กำหนดลักษณะของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ออกเป็น 4 ลักษณะคือ (1) การให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Service) (2) การให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Network) (3) การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Facility) และ (4) การให้บริการแบบประยุกต์ (Application)
การประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ มีห่วงโซ่การประกอบกิจการ (Value Chain) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ (1) บริการ ซึ่งหมายถึง ผู้ผลิตหรือผู้รวบรวมเนื้อหารายการ เพื่อนำส่งไปยัง (2) ระบบเชื่อมโยงสัญญาณ ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงสัญญาณเพื่อนำส่ง “เนื้อหา” ไปยัง (3) ผู้ชม หรือผู้รับบริการ นั่นหมายความว่า ในกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช่คลื่นความถี่จะเริ่มต้นด้วยการรวบรวมเนื้อหารายการ แล้วส่งต่อไปยังแพลตฟอร์ม (เช่น PSI, TrueVisions หรือ TOT) ซึ่งจะใช้โครงข่ายสนับสนุน ได้แก่ โครงข่ายดาวเทียม หรือ โครงข่ายอินเทอร์เน็ต นำส่งบริการของตนไปยังผู้รับชมหรือผู้รับบริการ
ในส่วนของบริการ OTT ก็มีรูปแบบและลักษณะของห่วงโซ่การประกอบกิจการเหมือนกับกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ กล่าวคือ เนื้อหารายการ (ที่มาจากผู้ผลิต สตูดิโอ ช่องรายการ หรือผู้ใช้) จะถูกรวบรวม แล้วนำส่งไปยังแพลตฟอร์ม (เช่น Netflix, Hulu, Line TV, YouTube, Facebook เป็นต้น) แล้วใช้โครงข่ายสนับสนุน (ISP และ Open Internet) ส่งบริการไปยังผู้รับชมทั่วโลก
กรณีของบริการ OTT ที่ผู้ใช้สามารถผลิตเนื้อหาเอง (User Generated Content (UGC) เช่น YouTube, Facebook, Instragram และ Twitter) ก็มีรูปแบบและลักษณะของห่วงโซ่การประกอบกิจการเหมือนกับบริการ OTT อื่นๆ เพียงแต่มีความแตกต่างในส่วนของเนื้อหารายการที่มิใช่มาจากช่องรายการหรือผู้ให้บริการเนื้อหาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากผู้ใช้ที่สามารถผลิตเนื้อหาได้เอง แล้วค่อยนำส่งไปยังแพลตฟอร์ม รวบรวมส่งเนื้อหาผ่านโครงข่ายสนับสนุนไปยังผู้ชมหรือผู้รับบริการ
ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบลักษณะห่วงโซ่ของการประกอบกิจการของ “โทรทัศน์ที่ไม่ใช่คลื่นความถี่” กับ “บริการ OTT” จึงพบว่า มีโครงสร้างที่เหมือนกัน แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ “บริการ” “ระบบเชื่อมโยง” และ “ผู้ชม” ในขณะที่ลักษณะของแพลตฟอร์มก็มีรูปแบบเดียวกัน กล่าวคือ ทั้งแพลตฟอร์มบริการ OTT และกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ต่างก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกันในการรวบรวมเนื้อหาภาพและเสียง ก่อนส่งผ่านไปยังโครงข่ายสนับสนุนเพื่อให้บริการแก่ประชาชนผู้รับบริการ อย่างไรก็ดี ในส่วนของบริการนั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อย เนื่องจากเนื้อหารายการบนแพลตฟอร์ม OTT นั้นสามารถมาได้จากทั้งช่องรายการและผู้ให้บริการเนื้อหาที่เป็นเจ้าของเนื้อหารายการ (Content Provider) หรือผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้สร้างเนื้อหาเอง (UGC) ในขณะที่บริการหรือเนื้อหาในกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่มาจากผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการเนื้อหารายการแต่เพียงอย่างเดียว
OTT ให้บริการลักษณะโครงข่าย
พ.อ.นที กล่าวอีกว่ากรณี บริการ OTT ที่ผู้ใช้สามารถผลิตเนื้อหาเอง รูปแบบ User Generated Content หรือ UGC เช่น ยูทูบ เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ มีรูปแบบและลักษณะของห่วงโซ่การประกอบกิจการเหมือนกับบริการ OTT อื่นๆ เพียงแต่มีความแตกต่างในส่วนของเนื้อหารายการที่ไม่ใช่มาจากช่องรายการหรือผู้ให้บริการเนื้อหาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจาก “ผู้ใช้” ที่สามารถผลิตเนื้อหาได้เอง จากนั้นนำส่งไปยังแพลตฟอร์ม รวบรวมส่งเนื้อหาผ่านโครงข่ายสนับสนุนไปยังผู้ชมหรือผู้รับบริการ
ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบลักษณะห่วงโซ่ของการประกอบกิจการของ “โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่” กับ “บริการ OTT” จึงพบว่า มีโครงสร้าง “เหมือนกัน” แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ บริการ, ระบบเชื่อมโยงและผู้ชม
ในขณะที่ลักษณะของแพลตฟอร์มก็มีรูปแบบเดียวกัน คือ ทั้งแพลตฟอร์มบริการโอทีทีและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ต่างก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกันในการรวบรวมเนื้อหาภาพและเสียง ก่อนส่งผ่านไปยังโครงข่ายสนับสนุนเพื่อให้บริการแก่ประชาชนผู้รับบริการ
อย่างไรก็ดีในส่วนของบริการนั้นมีความแตกต่างกัน คือ เนื้อหารายการบนแพลตฟอร์มโอทีที แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ มาจากช่องรายการและผู้ให้บริการที่เป็นเจ้าของเนื้อหา (Content Provider) และผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้สร้างเนื้อหาเอง (UGC) ในขณะที่บริการหรือเนื้อหาในกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่มาจากผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการเนื้อหารายการแต่เพียงอย่างเดียว
สรุปได้ว่าการให้บริการ OTT รูปแบบวีดีโอออนดีมานด์ ที่มีรายได้จากค่าสมาชิก เช่น เน็ตฟลิกซ์ รวมทั้งแพลตฟอร์ม ยูทูบ เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ไลน์ทีวี เข้าลักษณะทำนองเดียวกับบริการโครงข่ายกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ฯ ที่เข้าข่ายการกำกับดูแลตามประกาศฯ กสทช. เรื่องกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ทั้งนี้ กระบวนการกำกับดูแล จะมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนอีกครั้ง
เตรียมถก เฟซบุ๊ค-ยูทูป-เพจดัง
พ.อ.นที กล่าวว่าประเด็นที่คณะอนุฯ จะหารือหลังจากนี้ คือ การให้“บริการเนื้อหา” ที่มาจาก ผู้ใช้สร้างเนื้อหาเอง (UGC) และช่องรายการนำเสนอผ่านโครงข่ายโอทีที โดยในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ จะเชิญ"ผู้ใช้สร้างเนื้อหาเอง" บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ค มาร่วมหารือ โดยคัดเลือกตัวแทนจากแฟนเพจท็อป 100 ที่มีผู้ติดตามระดับ 1 ล้านคนขึ้นไป เช่น เพจ สุทธิชัย หยุ่น, วู้ดดี้ ,สรยุทธ สุทัศนะจินดา ,SpokeDark TV , Drama Addict เป็นต้น
จากนั้นวันที่ 7 มิถุนายนนี้ จะเชิญช่องรายการบนยูทูป แชนแนล มาร่วมหารือ โดยคัดเลือกตัวแทน จากช่องรายการท็อป 100 ที่มีผู้กดติดตามช่องสูงสุด รวมทั้งช่องรายการยูทูบของกลุ่มทีวีดิจิทัล ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก
แนวทางการกำกับดูแลในกลุ่มผู้ให้บริการ ฝั่งผู้ผลิตเนื้อหา ขณะนี้ยังไม่สรุปตัวเลขว่าต้องมีผู้ติดตามจำนวนเท่าไหร่ จึงเข้าหลักเกณฑ์ถูกกำกับดูแลตามประกาศฯ กสทช. จากการศึกษา แต่เชื่อว่ามีไม่มากหรืออยู่ที่ราว 50-100 รายที่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบกิจการฯ
“คณะอนุฯ จะวางเส้นแบ่งที่ชัดเจน สำหรับประชาชนที่ผลิตเนื้อหาบนโอทีที เพื่อรับชมเองในกลุ่มเพื่อน และกลุ่มที่สร้างอิมแพ็คต่อสังคม รวมทั้งกลุ่มที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการหารายได้ จะต้องมีความชัดเจนในการจัดประเภทและกำกับดูแล”
เมื่อทั้งโครงข่ายและผู้ผลิตเนื้อหาบนโอทีที เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบการกิจการโทรทัศน์ จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับของประกาศฯ และกฎหมาย ที่ กสทช. ใช้กำกับกิจการโทรทัศน์เช่นกัน ทั้งผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างการแข่งขันที่เท่าเทียมและไม่มีเนื้อหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เชื่อว่าเป็นแนวทางที่ทุกคนยอมรับได้ และจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
หลังจากรับฟังความเห็นในวันที่ 6-7 มิถุนายนนี้ จากนั้นช่วงกลางเดือนมิถุนายน คณะอนุฯจะสรุปแนวทางทั้งหมด เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม วางหลักเกณฑ์การกำกับดูแลรายประเภทบริการและบังคับใช้ภายในเดือน สิงหาคมนี้ โดยใช้ประกาศฯ กสทช.เดิม และไม่ต้องออกประกาศฯใหม่
18 ส.ค. 2567