Last updated: 12 ธ.ค. 2560 | 3370 จำนวนผู้เข้าชม |
ตั้ง ป.ป.ช. ประจำภาค กลั่นกรองงานจากจังหวัด บูรณาการ-แก้ไขปัญหาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลุยสอบทรัพย์สินเชิงลึก ตั้งสำนักตรวจราชการ ศึกษาข้อมูลยกระดับขีดความสามารถองค์กร-สรรหากรรมการ ป.ป.ช. จังหวัดด้วย
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2560 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560
ประกาศดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ว่า มีการจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำภาค จำนวน 9 แห่ง คอยกำกับดูแล และกลั่นกรองงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัด รวมถึงตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเชิงลึก และบูรณาการข้อมูลร่วมกันกับสำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัด เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผล นอกจากนี้ยังจัดตั้งสำนักตรวจราชการประจำ ป.ป.ช. เพื่อติดตาม ประเมินผล ศึกษาข้อมูล ยกระดับขีดความสามารถขององค์กร รวมถึงมีหน้าที่สรรหากรรมการ ป.ป.ช. ประจำจังหวัดด้วย
ประกาศดังกล่าวฉบับเต็ม มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้การบริหารราชการของสํานักงาน ป.ป.ช. เป็นไปตามหลักการกระจายอํานาจและการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จมีการบริหารงานแบบบูรณาการ รวมทั้งสามารถรองรับต่อนโยบายและกระแสความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทําให้การดําเนินภารกิจของสํานักงาน ป.ป.ช. บรรลุผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 831-2/2560 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วนถั ัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (110) (111) (112) (113) (114) (115) (116) (117) และ (118) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2556
“(110) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 1 (111) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 2 (112) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 3 (113) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 4 (114) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 5 (115) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 6 (116) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 7 (117) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 8 (118) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค 9”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (44) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2556
“(44) สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
(ก) ดําเนินการเกี่ยวกับการบูรณาการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการประสานกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจําจังหวัด และสํานักงาน ป.ป.ช.ประจําจังหวัดภายในภาคที่รับผิดชอบ รวมถึงภาคส่วนอื่น ๆ ในการดําเนินภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการดําเนินการเพื่อขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ข) ดําเนินการเกี่ยวกับการจัดทําแผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านการป้องกันการทุจริตของสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด และสํานักงาน ป.ป.ช. ภาค รวมทั้งดําเนินการใด ๆ เพื่อให้การดําเนินการตามแผนงาน โครงการ และกิจกรรมดังกล่าวบรรลุผลสัมฤทธิ์
(ค) ดําเนินการพิจารณากลั่นกรองรายงานการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานและรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด ภายในภาคที่รับผิดชอบในเบื้องต้นเพื่อเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการต่อไป
(ง) ดําเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน และการไต่สวนข้อเท็จจริงตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติงานร่วมกับสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด ภายในภาคที่รับผิดชอบหรือส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องในการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานและการไต่สวนข้อเท็จจริง
(จ) งานเลขานุการคณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องกล่าวหาของสํานักงาน ป.ป.ช.ประจําจังหวัด ภายในภาคที่รับผิดชอบ
(ฉ) ดําเนินการตรวจสอบเชิงลึกเกี่ยวกับกรณีการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในภาคที่รับผิดชอบ และตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในกรณีอื่น ตามที่ได้รับมอบหมายรวมทั้งปฏิบัติงานร่วมกับสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด ภายในภาคที่รับผิดชอบหรือส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
(ช) ดําเนินการเกี่ยวกับการจัดทําฐานข้อมูลทางด้านงานคดี งานตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน งานป้องกันการทุจริต และด้านการบริหารภายในภาคที่รับผิดชอบ
(ซ) กํากับ ควบคุม ดูแล ประสานนโยบาย พัฒนาระบบงานและบุคลากรให้คําปรึกษาแนะนํา และช่วยแก้ไขปัญหา รวมทั้งบูรณาการการปฏิบัติงานของสํานักงาน ป.ป.ช.ประจําจังหวัด ภายในภาคที่รับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติราชการรวมถึงการดําเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสํานักงาน ป.ป.ช. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสัมฤทธิ์
(ฌ) ดําเนินการเกี่ยวกับการจัดทํา กํากับ ดูแล ติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณของสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด รวมถึงการปฏิบัติราชการในด้านอื่น ๆ ของสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด ภายในภาคที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งจัดทํารายงานผลการปฏิบัติราชการของสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดและสํานักงาน ป.ป.ช. ภาคเพื่อเสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(ญ) ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(ฎ) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (32) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(32) สํานักตรวจราชการ มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
(ก) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการตรวจราชการของสํานักงาน ป.ป.ช. รวมทั้งจัดทํารายงานการตรวจราชการต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(ข) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแผนการตรวจราชการของสํานักงาน ป.ป.ช.แบบการตรวจราชการ และคู่มือการตรวจราชการ
(ค) ประสาน ติดตาม ประเมินผล และรายงานการปฏิบัติราชการของสํานักงาน ป.ป.ช.ประจําจังหวัด ให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน โครงการ และสอดคล้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบและแนวทางที่กําหนด
(ง) ศึกษา พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงระบบการตรวจราชการเพื่อยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทํางานให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมายของสํานักตรวจราชการ
(จ) ดําเนินการเกี่ยวกับงานตรวจราชการของกรรมการ ป.ป.ช.
(ช) ช่วยอํานวยการ สนับสนุน และประสานการปฏิบัติราชการของกลุ่มภารกิจ
ปฏิบัติการพื้นที่ รวมถึงดําเนินการใดๆ เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกลุ่มภารกิจปฏิบัติการพื้นที่
(ซ) ดําเนินการเกี่ยวกับการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจําจังหวัด การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจําจังหวัด รวมทั้งดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจําจังหวัด
(ฌ) ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสํานักงาน ป.ป.ช.ประจําจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(ญ) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย”
ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560
พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ